ประวัติความเป็นมา
๑. ความเป็นมาของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
๑.๑ กำเนิดวัดไทยในสหรัฐอเมริกา
“เมื่อพระเดชพระคุณ พระพิมลธรรม(ชอบ อนุจารีมหาเถร) ราชบัณฑิต ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมโกศาจารย์ ได้เดินทางมาดูกิจการพระศาสนาทางยุโรปและอเมริกา ได้เดินทางสู่ยุโรปก่อนแล้วมาเยือนรัฐต่างๆในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ.๒๕๑๔ ในเวลานั้นประเทศอังกฤษมีวัดพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทแบบไทยอยู่แล้ว คือ วัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน แต่เมื่อมาเยือนมลรัฐต่างๆในประเทศสหรัฐอเมริกาได้พบว่ามีพุทธศาสนิกชนชาวไทย และชาวต่างชาติอื่นๆอาศัยอยู่ทั่วทุกรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวนมาก แต่ไม่พบว่ามีวัดไทยอยู่ในรัฐใด ๆ ดั่งเช่น ประเทศอังกฤษหรือประเทศสหภาพทางยุโรป ด้วยเหตุนี้ท่านจึงมีดำริที่จัดตั้งวัดไทยในต่างประเทศขึ้นเพื่อให้วัดไทยเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และเป็นศูนย์รวมใจเหล่าพุทธบริษัททั้ง ๔ ให้น้อมรำลึกถึงบุญคุณของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ วัฒนธรรม ประเพณีไทย” (ชีวานันทะ,๒๕๕๒)
ความมุ่งมั่นตั้งใจของท่านได้บรรลุวัตถุประสงค์เมื่อคณะกรรมการชุดก่อตั้งและพุทธศาสนิกชนที่มีจิตศรัทธาได้ร่วมมือกันจัดตั้ง วัดไทยเมืองลอสแองเจลิส มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ในประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้นในปี พ.ศ ๒๕๑๕ วัดไทยแห่งนี้จึงเป็นวัดไทยแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา จากนั้นท่านได้จัดส่งพระสงฆ์จำนวน ๕ รูป มาอยู่จำพรรษา วัดไทยในประเทศสหรัฐอเมริกาแห่งนี้จึงเป็นวัดแรกที่กำเนิดขึ้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
เนื่องจากคณะพระสงฆ์ไทยรุ่นแรกได้ร่วมกันปฏิบัติศาสนกิจจนทำให้เกิดศรัทธา คือความเชื่อ ปสาทะ ความเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชน ทำให้พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทแบบไทยได้เผยแผ่ไปอย่างกว้างไกลตามมลรัฐและเมืองต่างๆในประเทศสหรัฐอเมริกา ประชาชนทั้งชาวไทย และนานาชาติได้รับประโยชน์จากงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของเหล่าพระธรรมทูต และพระสงฆ์ที่มาปฏิบัติศาสนกิจด้วยความเสียสละ
ดังนั้น ประชาชนและผู้มีจิตศรัทธาจึงต้องการให้มีวัดไทยเพิ่มขึ้นในรัฐต่าง ๆ ทำให้งานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ขยายงานมากขึ้นตามลำดับ จึงเป็นที่มาของการก่อตั้งวัดไทยในประเทศสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นอีก เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันมีวัดสมาชิก สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา จำนวน ๙๒ วัด (ปี ๒๕๕๒)
๑.๒ การก่อตั้งสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
“การสืบต่อพระศาสนาให้ยืนยาว และเป็นประโยชน์เกื้อกูลความสุขแก่ชาวโลกเป็นหน้าที่ของพระภิกษุสามเณรทุกรูปที่จะต้องปฏิบัติตามกำลังความสามารถโดยฐานานุรูป เพราะเหตุที่พระภิกษุสามเณร มีความสำนึก และปฏิบัติกันมาโดยลำดับ พระศาสนา จึงเป็นอมตมรดกสืบมาต่อทุกวันนี้
แต่ปัจจุบันโลกมีวิวัฒนาการมากขึ้น การสืบต่อพระพุทธศาสนาจึงสมควรใช้วิธีการที่เหมาะสม โดยไม่ทิ้งหลักการ คือพระธรรมวินัย เป็นที่น่าชื่นชมยินดี ที่พระสงฆ์แห่งสังฆมณฑลไทยที่ออกไปประกาศศาสนาในประเทศต่างๆมีความรู้ ความสามารถสูงจึงปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประกาศพระศาสนา(พระธรรมทูต)ได้ดังปรากฏผลงานทั่วโลก” (สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสนมหาเถร),๒๕๕๒)
ดังนั้น เมื่อจำนวนวัด และพระสงฆ์เพิ่มขึ้นตามระยะเวลา ประกอบกับการตั้งวัดในแต่ละรัฐซึ่งมีระเบียบการปฏิบัติ ของแต่ละวัดแตกต่างกัน ในด้านกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งวัดในแต่ละมลรัฐ ทำให้การปฏิบัติงานของพระธรรมทูตในแต่ละรัฐมีความแตกต่างและมีข้อจำกัด แม้ว่าจะเป็นวัดในพระพุทธศาสนานิกายเดียวกัน แต่ไม่สามารถดำเนินการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์เดียวกันได้อย่างมีความสอดคล้องกัน
ด้วยเหตุผลดังกล่าว คณะสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาจึงได้มีการรวมตัวก่อตั้งองค์กรการปฏิบัติงานของคณะสงฆ์ไทยฝ่ายมหานิกายขึ้น โดยขอยื่นจดทะเบียนก่อตั้งเป็นองค์กรทางศาสนาที่ไม่แสวงหาผลกำไรตามกฏหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๙ (๑๙๗๖) โดยเรียกชื่อว่า สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา (ส.ท.ส.) The Council of the Thai Bhikkhus in the U.S.A. (C.T.U.) ซึ่งเป็นองค์กรทางศาสนาที่ไม่มุ่งแสวงหาผลกำไร Non-Profit Organization โดยมีวัตถุประสงค์ ตามกฎหมาย ดังนี้
๒. วัตถุประสงค์ มีดังนี้
๑. เพื่อร่วมวางนโยบาย ส่งเสริม สนับสนุน แก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
๒. เพื่อเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านความคิดเห็น การดำเนินการ และร่วมมือประสานงาน ระหว่างคณะสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
๓. เพื่อเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความรู้ การดำเนินงาน และร่วมมือประสานงานระหว่างพระสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา กับคณะสงฆ์ไทยแห่งประเทศไทย
๔. เพื่อให้การช่วยเหลือสนับสนุนการดำเนินงานตามกิจกรรมของวัดไทยในสหรัฐอเมริกา
๕. เพื่อให้การปฏิสันถารและให้การช่วยเหลือแก่พระสงฆ์ไทยที่ปฏิบัติศาสนกิจในสหรัฐอเมริกา
๖. เพื่อร่วมมือประสานงานกับองค์กรพระพุทธศาสนาและหน่วยงาน อื่นๆ
๓.ระเบียบข้อบังคับสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา พุทธศักราช ๒๕๒๐ (คริสตศักราช ๑๙๗๗) แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๕๖๐ (คริสตศักราช ๒๐๑๗)
สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา จึงได้วางระเบียบข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้
หมวดที่ ๑
บททั่วไป
๑. องค์กรนี้มีชื่อว่า “สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา” เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (Nonprofit Organization) ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
๒. ระเบียบข้อบังคับมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ ๓ เดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
๓. ให้ยกเลิกระเบียบข้อบังคับสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๓ พุทธศักราช ๒๕๕๒ (ค.ศ.๒๐๐๙)
๔. ให้ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับนี้
๕. สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา มีชื่อภาษาอังกฤษว่า “THE COUNCIL OF THAI BHIKKHUS IN THE U.S.A.”
๖. สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา มีชื่อย่อภาษาไทยว่า “สทส” และชื่อย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “CTU”
๗. สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา มีตราเป็นสัญลักษณ์ คือ เป็นรูปธรรมจักร ในกงจักรด้านบน มีข้อความเป็นภาษาไทยว่า “สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา” และในกงจักรด้านล่าง มีข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า “THE COUNCIL OF THAI BHIKKHUS IN THE U.S.A.”
๘. ในระเบียบข้อบังคับนี้
“สมัชชาสงฆ์ไทยฯ” หมายถึง สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
“กรรมการอำนวยการฯ” หมายถึง กรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
๙. สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(๑) เพื่อวางนโยบาย ส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือ แก้ไข หรือปรับปรุงเกี่ยวกับการปฏิบัติศาสนกิจของวัด และคณะสงฆ์ไทย รวมทั้งคณะสงฆ์ และองค์กรการกุศลอื่นๆ
(๒) เพื่อเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และความร่วมมือ ประสานงาน ระหว่างคณะสงฆ์ไทย คณะสงฆ์อื่นๆ และประชาชนในสหรัฐอเมริกา
(๓) เพื่อเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินการ และร่วมมือประสานงาน ระหว่างคณะสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกากับคณะสงฆ์แห่งประเทศไทย
(๔) เพื่อความร่วมมือประสานงานกับองค์กรพุทธศาสนา และหน่วยงานทางศาสนาอื่นๆ
(๕) เพื่อความร่วมมือประสานงานกับหน่วยงานราชการหรือเอกชนทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา และในประเทศอื่น ๆ
หมวดที่ ๒
การบริหารงาน
๑๐. คณะกรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทยฯ
คณะกรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทยฯ หมายถึง คณะพระธรรมทูตที่ได้รับการเลือกตั้งจากมติที่ประชุมสามัญประจำปี ให้บริหารงานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ ตามนโยบายและวัตถุประสงค์ของสมัชชาสงฆ์ไทยฯ มีวาระดำรงตำแหน่งสมัยละ ๓ ปี โดยมีรายละเอียด ดังนี้
๑๐.๑ คณะกรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทยฯ ประกอบด้วย
(๑) ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ ๑ รูป
(๒) รองประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ อย่างน้อย ๓ รูป
(๓) เลขาธิการสมัชชาสงฆ์ไทยฯ ๑ รูป
(๔) รองเลขาธิการสมัชชาสงฆ์ไทยฯ อย่างน้อย ๓ รูป
(๕) เหรัญญิกสมัชชาสงฆ์ไทยฯ ๑ รูป
(๖) ผู้ช่วยเหรัญญิกสมัชชาสงฆ์ไทยฯ ๑ รูป/คน
(๗) กรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทยฯ ไม่เกิน ๙ รูป
ทั้งนี้ รวมแล้วไม่เกิน ๑๙ รูป/คน
สำหรับตำแหน่งผู้ช่วยเหรัญญิก อาจจะไม่เลือกจากสมาชิกและอาจเป็นฆราวาสก็ได้
๑๐.๒ เมื่อกรรมการอำนวยการฯ ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งว่างลง ให้คณะกรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทยฯ พิจารณาแต่งตั้งกรรมการอำนวยการฯ ขึ้นใหม่ แทนตำแหน่งที่ว่างลงนั้น กรรมการอำนวยการฯ ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ว่างนั้น ให้อยู่ในตำแหน่งเท่าที่เวลาเหลืออยู่ของวาระของผู้ที่ตนแทน
๑๑. ให้มีสำนักงานเลขาธิการ เป็นหน่วยงานของคณะกรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทยฯ ทำหน้าที่ในการดูแลงานประชุม งานสารบรรณ งานทะเบียน งานกฎหมาย งานการเงิน และงานประสานงานองค์กร รวมทั้งหน้าที่อื่น ๆ ที่ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ มอบหมาย
ให้สำนักงานเลขาธิการ ตั้งอยู่ในวัดที่เลขาธิการสังกัด
๑๒. การบริหารงานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ ให้แบ่งการทำงานออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ ในเรื่องเกี่ยวกับการบริหาร การเผยแผ่ การศึกษา และการสาธารณูปการ เป็นต้น โดยอาจมีการประกาศแบ่งเป็นสำนักงาน กอง หรือศูนย์ หรือหน่วยงานอื่นๆ เพิ่มในฝ่ายนั้นๆ ได้
๑๓. ให้คณะกรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทยฯ อาราธนาหรือเชิญ บรรพชิตหรือคฤหัสถ์ เพื่อแต่งตั้งเป็น คณะกรรมการที่ปรึกษาและอุปถัมภ์ โดยมีวาระเท่ากับคณะกรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทยฯ ที่แต่งตั้งนั้น
๑๔. สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการเลือกตั้ง คุณสมบัติ อำนาจหน้าที่อื่นๆ และการสิ้นสุดของคณะกรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทยฯ ให้เป็นไปตามประกาศของสมัชชาสงฆ์ไทยฯ
หมวดที่ ๓
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทยฯ
๑๕. คณะกรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทยฯ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
๑๕.๑ ดำเนินการบริหารสมัชชาสงฆ์ไทยฯ ให้เป็นไปตามนโยบายและวัตถุประสงค์
๑๕.๒ ดูแลรักษาและพัฒนาสมาชิกของสมัชชาสงฆ์ไทยฯ
๑๕.๓ แต่งตั้งหรือมอบหมายคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน
เพื่อช่วยงานของสมัชชาสงฆ์ไทยฯ ได้
๑๕.๔ ให้สามารถออกระเบียบ ประกาศ หรือข้อบังคับใดๆ เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของสมัชชาสงฆ์ไทยฯ
๑๖. ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
๑๖.๑ เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทยฯ และ
การประชุมของสมัชชาสงฆ์ไทยฯ
๑๖.๒ เป็นประธานฝ่ายบริหาร
๑๖.๓ เป็นเจ้าคณะรัฐ ทำหน้าที่บริหารรัฐที่กำหนด
๑๖.๔ เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงานทั่วไปของสมัชชาสงฆ์ไทยฯ
๑๖.๕ เป็นผู้แทนของสมัชชาสงฆ์ไทยฯในกิจการทั้งปวง
๑๗. รองประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
๑๗.๑ เป็นผู้ช่วยงานประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ
๑๗.๒ เป็นเจ้าคณะรัฐ ทำหน้าที่บริหารรัฐต่างๆ ตามที่ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ มอบหมาย
๑๗.๓ เป็นประธานกรรมการฝ่ายต่างๆ ตามที่ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ มอบหมาย
๑๗.๔ ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ ในเมื่อประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ ไม่อยู่ หรือไม่อาจหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือตามที่ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯมอบหมาย
๑๘. เลขาธิการ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
๑๘.๑ เป็นหัวหน้าสำนักงานเลขาธิการ
๑๘.๒ เป็นเลขานุการในที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการฯ
๑๘.๓ เป็นเลขานุการของคณะกรรมการฝ่ายบริหาร
๑๘.๔ เป็นเลขานุการเจ้าคณะรัฐ ตามที่ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ มอบหมาย
๑๘.๕ ปฏิบัติหน้าที่ที่ประธานหรือรองประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ มอบหมาย
ในเมื่อเลขาธิการไม่อยู่ หรือไม่อาจหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ มอบหมายให้รองเลขาธิการรูปใดรูปหนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทน
๑๙. รองเลขาธิการ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
๑๙.๑ เป็นผู้ช่วยเลขานุการในที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทยฯ
๑๙.๒ เป็นเลขานุการของคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ตามที่ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ มอบหมาย
๑๙.๓ เป็นเลขานุการเจ้าคณะรัฐ ตามที่ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ มอบหมาย
๑๙.๔ ปฏิบัติหน้าที่ที่ประธานหรือรองประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ มอบหมาย
ในเมื่อรองเลขาธิการรูปใดรูปหนึ่งไม่อยู่ หรือไม่อาจหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ มอบหมายให้รองเลขาธิการรูปใดรูปหนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทน
๒๐. กรรมการอำนวยการฯ อื่นๆ มีอำนาจหน้าที่ เป็นกรรมการในฝ่ายต่างๆ และปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทยฯ หรือประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ มอบหมาย
๒๑. เหรัญญิกและผู้ช่วยเหรัญญิก มีอำนาจหน้าที่ ดูแลรักษาเงินและทรัพย์สินของสมัชชาสงฆ์ไทยฯ และปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการสมัชชาสงฆ์ไทยฯ หรือประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ มอบหมาย
หมวดที่ ๔
สมาชิก
๒๒. สมาชิกสมัชชาสงฆ์ไทยฯ มี ๒ ประเภท คือ
๑. สามัญ
๒. วิสามัญ
โดยมีสมาชิกทั้งที่เป็นวัดและพระธรรมทูตหรือพระภิกษุที่มาปฏิบัติศาสนกิจในประเทศสหรัฐอเมริกา และในทวีปอื่นๆ
๒๓. สมาชิกสมัชชาสงฆ์ไทยฯ มีหน้าที่ทำนุบำรุง ช่วยเหลือกิจการคณะสงฆ์ไทย และ
สมัชชาสงฆ์ไทยฯ
สำหรับรายละเอียดการแบ่งประเภทสมาชิก และสิทธิหน้าที่อื่นใดของสมาชิกทุกประเภท
ให้เป็นไปตามประกาศของสมัชชาสงฆ์ไทยฯ
หมวดที่ ๕
การเงินและทรัพย์สิน
๒๔. เงินและทรัพย์สินของสมัชชาสงฆ์ไทยฯ อาจได้จาก
(๑) การบำรุงของสมาชิก
(๒) การบริจาคของผู้มีศรัทธา
(๓) กองทุนต่าง ๆ
(๔) หน่วยงาน องค์กร จากภาคเอกชนและภาครัฐ
(๕) รายได้อื่น ๆ
๒๕. การดูแลรักษาเงินและทรัพย์สินของสมัชชาสงฆ์ไทยฯ เพิ่มเติม ให้เป็นไปตามประกาศของสมัชชาสงฆ์ไทยฯ
๒๖. ให้คณะกรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทยฯ แต่งตั้ง ผู้ตรวจสอบบัญชีประจำปี
หมวดที่ ๖
การประชุม
๒๗. การประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยฯ มี ๒ ประเภท คือ
(๑) การประชุมสมัยสามัญประจำปี
(๒) การประชุมสมัยวิสามัญ
๒๗.๑ การประชุมสมัยสามัญประจำปี กำหนดปีละ ๑ ครั้ง ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน จะต้องมีวัดสมาชิกทุกประเภทเข้าประชุมอย่างน้อย ๒ ใน ๓ จึงครบองค์ประชุม
๒๗.๒ ให้ที่ประชุมสมัยสามัญประจำปี เป็นผู้กำหนดสถานที่จัดประชุมสมัยสามัญของปีถัดไป
๒๗.๓ การประชุมสมัยวิสามัญมีขึ้นเมื่อที่ประชุมสมัยสามัญประจำปี เห็นชอบให้มีการประชุมสมัยวิสามัญ หรือประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ เป็นผู้เรียกประชุม ในเมื่อมีกรณีต้องพิจารณาเร่งด่วน หรือเมื่อกรรมการอำนวยการฯ ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง ลงชื่อเสนอต่อประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ
๒๗.๔ สถานที่ประชุมสมัยวิสามัญ ให้ที่ประชุมสมัยสามัญประจำปี หรือประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ เป็นผู้กำหนด ตามแต่กรณี
๒๗.๕ มติที่ประชุม ให้ถือเสียงข้างมาก ในกรณีที่มีเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ตัดสิน
๒๘. การประชุมคณะกรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทยฯ จะต้องมีผู้เข้าประชุมอย่างน้อย ๒ ใน ๓ จึงครบองค์ประชุม และให้มีการประชุมอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง
๒๙. สำหรับข้อปฏิบัติและรายละเอียดเกี่ยวกับการประชุมเพิ่มเติม ให้เป็นไปตามประกาศของสมัชชาสงฆ์ไทยฯ
หมวดที่ ๗
การแก้ไขปรับปรุง
๓๐. การแก้ไขหรือปรับปรุงระเบียบข้อบังคับนี้ สามารถทำได้โดยมีมติเห็นชอบ ๒ ใน ๓ ของวัดสมาชิกทุกประเภทที่มาประชุมในการประชุมสมัยสามัญประจำปี
๓๑. การตีความระเบียบข้อบังคับนี้ ให้ถือมติของคณะกรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทยฯ เป็นที่สุด
หมวดที่ ๘
การสิ้นสุด
๓๒. เมื่อองค์กรสมัชชาสงฆ์ไทยฯ ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ จำเป็นต้องสิ้นสุดลง ให้ทรัพย์สินทั้งหมดเป็นขององค์กรการกุศลทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น
หมวดที่ ๙
บทเฉพาะกาล
๓๓. ให้คณะกรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทยฯ ที่ได้รับการเลือกตั้ง และหรือกรรมการอื่น ๆ ที่ได้รับการแต่งตั้ง ก่อนระเบียบข้อบังคับนี้ ยังคงเป็นกรรมการถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับสมัชชาสงฆ์ไทยฯ ทุกประการ จนกว่าจะสิ้นสุดวาระลง
ประกาศ ณ วันที่ ๓ เดือน มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ (คริสตศักราช ๒๐๑๗)
ลายมือชื่อ
(พระเทพพุทธิวิเทศ)
ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
๘. ด้านการบริหารงาน
คณะกรรมการบริหารและสมาชิกได้กำหนดหลักเกณฑ์การบริหารโดยประกาศเป็นนโยบายการบริหารคณะสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา ไว้ดังนี้
– พระ กับ วัด
๑.พระภิกษุที่อยู่ประจำปฏิบัติศาสนกิจ ณ วัดไทยในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ภิกษุที่ :-
• คณะสงฆ์ไทยส่งมา เพื่อปฏิบัติศาสนกิจประจำ ณ วัดนั้นๆ ในปัจจุบัน คือ ส่งมาโดย มติมหาเถรสมาคม
• มีวาระการปฏิบัติศาสนกิจคราวแรก ๓ ปี เมื่อครบวาระแล้ว หากทางวัดนั้นๆ เห็นควร อาจเสนอขอต่ออายุการปฏิบัติศาสนกิจในวาระต่อไปได้อีกวาระละ ๑ ปี และ
• มีวีซ่าประเภทที่สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาเห็นชอบร่วมกับทางการคณะสงฆ์ และทางราชการ
๒. มีพระภิกษุที่อุปสมบทในสหรัฐอเมริกา อาจมีฐานะเป็นผู้ปฏิบัติศาสนกิจประจำได้ ในเมื่อมีพรรษาครบ ๕ และได้รับการรับรองฐานะจากสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา โดยคำเสนอของเจ้าอาวาสวัดนั้นๆ
๓. ระเบียบข้อบังคับ กฏและกติกาสงฆ์ สำหรับเป็นหลักปฏิบัติของพระภิกษุ สามเณรและศิษย์ในวัดนั้นๆ ให้เป็นหน้าที่ของวัดนั้นๆ จะกำหนดวางขึ้นไว้
๗. วัดกับสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
๑. สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา พึงรับเป็นภาระในการช่วยติดต่อกับทางคณะสงฆ์ไทย เพื่อขอ พระมาปฏิบัติศาสนกิจไม่ว่าประเภทใดๆ ในสหรัฐอเมริกาตามคำขอของวัด องค์กร สมาคมหรือ กลุ่มชนในสหรัฐอเมริกา
๒. สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา ยินดีให้คำแนะนำ ปรึกษาและความสนับสนุน ในการจัดตั้งวัด ในสหรัฐอเมริกา แก่กลุ่มบุคคล สมาคม องค์การ หรือ หน่วยงานใดๆ ที่มีจิตศรัทธาประสงค์ จะจัดตั้งวัดในสหรัฐอเมริกา
๓. สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา เป็นผู้แทนของวัดไทยในสหรัฐอเมริกา ในการดำเนินงาน ต่างๆ เพื่อประโยชน์แก่พระศาสนา ตามคำขอของวัดนั้น ภายในขอบเขต แห่งระเบียบสงฆ์ไทย ในสหรัฐอเมริกา
๔. สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา พึงให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือแก่วัดต่างๆ ในกิจกรรม ทั่วไป ของวัดไทยในสหรัฐอเมริกา
๑๐. สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา กับ คณะสงฆ์ไทย และข้าราชการ
๑. สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา พึงรับรู้ความรู้ความคิดเห็น ข้อเสนอ และเรื่องราวของวัดไทย องค์การ สมาคมและกลุ่มบุคคลต่างๆ ทางศาสนา พิจารณาคำเสนอ และช่วยชี้แจงทำความเข้าใจ พร้อมทั้งถวายข้อเสนอแนะแก่ทางคณะสงฆ์ในประเทศไทย เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีและช่วยในการปฏิบัติศาสนกิจ ในสหรัฐอเมริกาได้ผลดียิ่งขึ้น
๒.สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา พึงรับนโยบาย คำสั่งและมติที่ได้รับ มอบหมาย ข่าวสาร คำแนะนำ และความคิดเห็น ตามที่พิจารณาเห็นสมควรจากคณะสงฆ์ในประเทศไทยมาดำเนินการ เพื่อให้วัดไทย องค์การ สมาคม และกลุ่มบุคคลทางศาสนา ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ มีความเข้าใจและหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
๓. สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา ดำเนินการติดต่อและประสานงานกับคณะสงฆ์ไทย และส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติศาสนกิจของคณะสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาสำเร็จตามวัตถุประสงค์
About CTU
In 1971, Venerable Phra Phimoldhamma, a noble venerable Buddhist Scholar of the Royal Academy of Thailand had made an observation and noted during his journey to Europe and the United States that, there was only one Thai Buddhist temple in the United Kingdom and there was none in the United States. Venerable Phra Phimoldhamma also found out that there were many Thais and Western Buddhist followers that desperately need the place for worship, Buddhist Ceremony, Buddhist study, and many other religious activities. To fulfill these needs, he proposed to have the first Thai Buddhist temple to be constructed in Los Angeles, CA in 1972. Today, there are 120 temple members of the Council of Thai Bhikkhus in the U.S.A.
To maintain the utmost accurate adherents to Buddha’s Teachings and to establish the systematic order and disciplines by providing guidance of the old tradition Theravada Buddhism, the Venerable Thai monks in the United States have combined the efforts to establish CTU to administer all Thai Buddhist temples in the United States.
The CTU is organized exclusively for one or more of the purposes as specified in Section 501(C)(3) of the Internal Revenue Code, including, for such purposes, the making of distributions to organizations that qualify as exempt organizations under Section 501(C)(3) of the Internal Revenue Code.
Specific Objectives and Purposes
The specific objectives and purposes of the CTU shall be:
1) To establish policy, provide guidance, and continuously improve the principle practices of all Thai Buddhist Missionary monks and Thai temples in the United States
2) To be the Center of Information for the exchange of Buddhist knowledge and culture.
3) To establish the Thai Buddhist, Centralize Administration for the purpose of working collaboratively with the Thai Supreme Buddhist Order of Thailand.
4) To assist and give guidance on Religion Ceremonies and Cultural Activities to the Thai temples in the United States.
5) To provide hospitality and assistance to Thai Bhikkhus who visit the US for religious duties and educational purposes.
6) To foster and engage in full cooperation with other Buddhist Traditions and other great religions in the United States through dialogue exchange, collaboration, and understanding.
Our Board of Directors is comprised of a group of Buddhist Scholars with multi-discipline individual Thai Bhikkhus (Monks). Furthermore, all Directors and Officers of CTU shall serve without any compensation. Although the board service is a voluntary act of Buddhist religion and social responsibility, we have committed and devoted our time, knowledge, attention, and skill to all the required duties.
Fiduciary duty is the heart of our operations which requires us to stay objective, unselfish, responsible, honest, trustworthy, and efficient in all of our decisions and in the best interest of the Council of Thai Bhikkhus in the U.S.A. (CTU).
Our Vision
To the Thai Buddhists, CTU is broadly recognized as one of the very important Buddhist organizations in the United States of America. By spreading the word of Buddha, diffusing the moral conducts and pure principle knowledge of Dharmma will help and foster the young Buddhists to grow up and be good citizens of the United States.
There is no country like the USA on this beautiful planet of ours. The American culture set by our forefathers is conducive to being unmatched in inventiveness, science, etc., and extraordinary social responsibility. In this regard, all of us American have a role and responsibility to cultivate more goodness, virtue, and above all united in keeping/maintaining this PEACEFUL Society.