๑. ประเด็นปัญหาเรื่องการปกครอง
• การรับรองฐานะองค์กรพระธรรมทูตไทยในต่างประเทศ เช่น สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาม สหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรปม องค์กรพระธรรมทูตไทยใน สหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์เหนือ องค์กรพระธรรมทูตไทยในเอเชียโอเชียเนีย
• การรองรับสถานภาพวัดไทยในต่างประเทศ ในทางประเทศไทยและมหาเถรสมาคมจะมีหนังสือที่เป็นราชการหรือเป็นทางการในการยอมรับสถานะของศาสนสถานเหล่านี้ (ซึ่งเป็นวัดที่เข้าข่ายการเป็นวัด คือ มีการผูกพัธสีมา ฝังลูกนิมิต) หรือในกรณีที่วัดที่สังกัดสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐฯ จะทำอย่างไรกับศาสนสถานเหล่านี้ กว่า ๖๖ วัดมีการถือครองที่ดินอย่างถูกต้องตามกฎหมายสหรัฐและอยู่ภายใต้ความดูแลของสมัชชาสงฆ์ไทย) การสร้างศาสนสถาน โดยปกติใช้เกณฑ์ของกฎหมายของแต่ละประเทศ แต่คณะสงฆ์จากสหรัฐฯและแคนาดา ยังมองว่าต้องได้รับการรับรองฐานะจากมหาเถรสมาคม ตามกลุ่มที่กำหนดไว้ เช่น วัดที่มีอุโบสถ สำนักสงฆ์ สำนักปฏิบัติธรรมในต่างประเทศ หรือ การรับรองสถานะของพระธรรมทูนในตำแหน่ง
แม้ว่าจะมีการรับสถานะพระธรรมทูตที่ผ่านการอบรมในต่างประเทศ แต่เมื่อพระธรรมทูตเหล่านั้นกลับมาที่เมืองไทย จะมีการรับรองสถานะและคุณสมบัติการปฏิบัติงานของพระธรรมทูตนั้นอย่างไร
• วีซ่าพระธรรมทูต เป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องการการแก้ไขอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันสหรัฐฯบังคับให้มีการขอวีซ่าแบบ R1 ซึ่งจะต้องทำผ่านสำนักงานกฎหมายเป็นส่วนใหญ่ และในกรณีของสหรัฐฯจะมีลักษณะที่เป็นโควต้า โดยทางการสหรัฐจะทำการเข้ามาตรวจสอบและกำหนดจำนวนพระสงฆ์ในชุมชนนั้นๆ นอกจากนี้ ปัญหาการเข้าประเทศสหรัฐฯแล้วไม่กลับตามกำหนด ก็เป็นประเด็นปัญหาที่ทำให้การเดินทางเข้าออกของพระธรรมทูตโดยรวมมีภาพพจน์ที่ไม่ดีนัก
การแก้ไขในส่วนนี้จะต้องมีการดำนเนินการในระดับนโยบาย ระหว่างรัฐบาล โดยเฉพาะการอธิบายกับหน่วยงานที่เกี่ยวกับการตรวจคนเข้าเมืองต้องอาศัยรัฐบาล โดยเฉพาะในเรื่องของการเข้าประเทศไปเพื่อปฏิบัติศาสนกิจชั่วคราว
๒. ประเด็นเรื่องงบประมาณสนับสนุน
• การทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อของบประมาณ ต้องมีการทำแผนรองรับ ซึ่งจะทำให้เกิดความสอดคล้อง เช่น แผนพัฒนาพระธรรมทูตไทยในต่างประเทศ
• การจัดทำกองทุนต่างๆ เช่น ๑. การเผยแพร่พระพุทธศาสนา โดยสื่อต่างๆ ๒. กองทุนเพื่อส่งเสริมการศึกษาพระธรรมทูตด้านภาษาต่างประเทศ ซึ่งเป็นกองทุนในลักษณะของการส่งเสริมการศึกษาภาษาต่อยอดในประเทศนั้นๆ ๒. กองทุนเพื่อการสร้างวัด ต้องมีการให้เงินทุนจากประชาชนในการสร้างวัด รัฐบาลอาจจะต้องยืนมือเข้ามาช่วย ไม่ใช่ให้ศาสนสถานในต่างประเทศตะเกียกตะกายช่วยเหลือตัวเอง รัฐบาลอาจจะต้องใช้วิธีในการลงทุนให้กู้ยืม โดยการพัฒนากองทุน เป็น non-profit organisation นำเงินไปเข้าธนาคารและนำดอกเบี้ยออกมาให้กู้เพื่อการสร้างวัดหรือเพื่อสวัสดิการของพระธรรมทูต เช่น เมื่อมรณภาพ ๔. กองทุนสร้างศาสนสถาน เพื่อเป็นการระลึกถึงพุทธชยันตี ในประเทศต่างๆหรือไม่
๓. การทำแผนรรับรองแผนพัมนางานพระธรรมทูตไทนในต่างประเทสร่วมกันเป็นนโยบายของมหาเถรสมาคม
๔. การส่งสเริมและสนับสนุนพระธรรมทูตในแต่ละประเทสให้โควต้า เรื่อง สมณศักดิ์ ตำแหน่ง รองรับ เงินนิตภัตต์ และพระอุปัชฌาย์ โดยต้องมองถึงโอกาสที่ไม่เท่าเทียมกันในการรับสมณศักดืของพระวัดใหญ่ปละวัดเล็กที่ได้ทำงานในฐานะพระธรรมทูต
๕. การตั้งสาบันพระธรรมทูตไทยในต่างประเทส ซึ่ง มจร.เคยกล่างวถึงบ่อยๆ
๖. การตั้งสำนักงานประสานงานพระธรรมทูตไทยสายต่างประเทศ (ประจำสำนักพุทธฯ)
๗. การให้สิทธิพิเศษหรืออำนวยความสะดวกแก่พระธรรมทูตไทยในต่างประเทศ เช่น การเดินทางโดสารเครื่องบิน
ธรรมยุติ
๑. การพัฒนาศักยภาพของพระธรรมทูต
• มุ่งเน้นที่เรื่องภาษาอังกฤษอย่างเดียวไม่พอ แต่การเข้าใจที่ลึกซึ้งเป็นภาษาที่ละเอียด และการใช้ประโยชน์กับศาสนทายาทที่เป็นคนท้องถิ่นก็สามารถทำให้เกิดประโยชน์ได้เช่นกัน สิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญเพิ่มเติมคือ การพัฒนาศักยภาพพระธรรมทูตต้องมุ่งเน้นภาษาท้องถิ่นด้วยมิใช่แต่ภาษาอังกฤษ ดังนั้น การพัฒนาทักษะต้องเน้นที่ประเทศนั้นๆ เลย เช่น อินโดนีเซียก็ต้องศึกษาบาฮาซา อินโด หรือ อาร์เจนตินา ก็ต้องพูดสแปนิชให้ได้ ดังนั้น
• มุ่งเน้นเรื่องภาษาอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องเน้นวิชาจารณสัมปัณโณ หรือความประพฤติของพระธรรมทูตด้วย
๒. การบูรณาการและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาระหว่างความแตกต่างนิกาย
• การใช้กฎระเบียบเดียวกัน ในเรื่องของกระบวนการในการทำเรื่องเพื่อการเดินทางของพระธรรมทูต (องค์กรสงฆ์ในไทยใช้ระยะเวลา หรือกฎระเบียบไม่เหมือนกัน หรือ มีกฎระเบียบที่มีความเยิ่นเย้อมากเกินไป)
• การสนับสนุนในเรื่องสื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ต้องมีการสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐอย่างชัดเจน
• การจัดตั้งองค์กรที่ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานสำหรับพระธรรมทูต อาจจะเป็นผู้ที่ประจำอยู่ที่สำนักงานพระพุทธศาสนา
• การแก้ไขปัญหาในเรื่องกฎหมาย
๓. การส่งเสริมบทบาทและสถานภาพของวัดและพระธรรมทูต
• จะต้องมีการประกาศในราชกิจจาฯหรือไม่
• งบประมารสนับสนุน น่าจะต้องมีการพิจารณาเป็นประเด็น
๔. การปรับปรุงหน่วยงานที่รับผิดชอบงานเผยแผ่
๕. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นตัวกลางในด้านการสนุนด้านการศึกษา และเขียนเป็นร่างยุทธศาสตร์ (เนื่องจาก สำนักงานพระพุทธศาสนาเป็นเลขาของมหาเถระสมาคม) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดทำหลักสูตร
๖. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จะต้องมีการจัดประชุมทั้งสองฝ่ายอย่างสม่ำเสมอและจะเป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนแนวคิดทั้ง ๕ ทวีป อาจจะเป็นการประชุมรายปีหรือทุกสองปี การเริ่มต้นสำนักพุทธฯในขณะนี้เป็นสิ่งที่ดีแล้ว ต้องมีการพัฒนาต่อไป
______________________________________________________________________________________
อภิปรายประเด็น
๑. ประเด็นเรื่อง กฎหมาย กฎระเบียบ ข้อรับรอง ว่าด้วย ศาสนกิจและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ
• ๑) วัดที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร
• ๒) การรับรองสถานะพระธรรมทูตและการรักษาสิทธิ์ของพระธรรมทูตเมื่อกลับมายังประเทศไทย
• คณะสงฆ์หรือรัฐบาลยังไม่มีกระบวนการในการรองรับ สำนักพุทธฯจะต้องนำเรื่องการรับรองการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศออกมาเป็นกฎระเบียบที่ชัดเจน เช่น อาจจะต้องมีการออกกฎระเบียบแยกต่างหากออกมาจากการปกครองของคณะสงฆ์ไทยในประเทศ กฎระเบียบดังกล่าวนี้ต้องให้สำนักพุทธฯดำเนินการให้มหาเถรสมาคมตัดสินใจรับทราบ เนื่องจาก ปัจจุบันจำนวนพระธรรมทูต ศาสนสถาน ศาสนทายาทในต่างประเทศมีมากมายและเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ กฎระเบียบ เช่น ประกาศของมหาเถรสมาคม รวมไปถึงการรับรองสถานะองค์กรที่ก่อตั้งในต่างประเทศ เช่นสมัชชาสงฆ์ไทยในต่างประเทศ หรือศาสนสถานต่างๆ จะเป็นลักษณะของการปกครองภาค หรือ จังหวัด ก็สุดแท้แต่
• สำนักงานพระพุทธฯ อาจจะต้องมีการแยกเป็นฝ่ายหรือหน่วยงานแยกเฉพาะที่ดูแลเรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศอย่างชัดเจน
• การสร้างแผนแม่แบบในการพัฒนาธรรมทายาท โดยผ่านมหาเถรสมาคมให้นโยบายมา และพระธรรมทูตมาพูดคุยกันเพื่อหาข้อสรุปหรือแนวทางในการดำเนินการ
• การร่างกฎระเบียบและโครงสร้างของพระธรรมทูตในต่างประเทศ สามารถร่างร่วมกันได้ระหว่างสองนิกายแล้วนำเสนอขึ้นไปยังมหาเถระสมาคมและสำนักพระพุทธศาสนา หรือ ต้องการโครงสร้างอย่างไรในส่วนของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ (ฐานะ นโยบายจะตามมาเอง)
• การศึกษาเรื่องกฎหมายอย่างชัดเจนในเรื่อง non-profit organisation
• การไม่ได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องจากองค์กรเอกชนต่างๆ เช่น การบินไทย ซึ่งไม่ทราบวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องของสงฆ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น มหาเถรสมาคมหรือสำนักพระพุทธศาสนาต้องกำหนดการรับรองหรือวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง
๓. ประเด็นเรื่องการรับรองสถานภาพพระธรรมทูตและความไม่เท่าเทียมกันระหว่างพระธรรมทูตไทยและ
พระในประเทศ
• ต้องมีศักดิ์มีศรีเทียบเท่ากับชั้นใด ในประเทศไทย ปัจจุบัน พระธรรมทูตเป็นเพียงแค่พระสงฆ์หรือหัวหน้าสงฆ์ธรรมดา เนื่องจากไม่มีการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ
๔. ประเด็นเรื่อง visa
• อาจจะต้องมีการแต่งตั้งกรรมการจากมหาเถรสมาคมเพื่อไปเจรจากับกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อดำเนินการว่าด้วยเรื่องการดำเนินการเรื่องวีซ่า และสถานะการทำงานของสงฆ์ไทย ต้องมีการดำเนินการในระดับนโยบาย เนื่องจากเป็นเรื่องที่วัดไทยในต่างประเทศไม่ควรที่จะดำเนินการเอง เพราะจะมีผลต่อความแตกต่างในเรื่องความใหญ่เล็กของวัด
• visa มีสองแบบคือ กระทรวงยุติธรรมและกระทรวงการต่างประเทศ ต้องมีการเชิญเจ้าหน้าที่ของสถานทูตอเมริกัน กระทรวงต่างประเทศและสำนักพุทธฯ ต้องมาพูดคุยกัน โดยเฉพาะในเรื่องโควต้า ของการที่พระธรรมทูตจะเดินทางไปในแต่ละปี อย่างไรก็ดี ประเด็นปัญหาเรื่องวีซ่าต้องพิจารณาให้ชัดเจนว่าเป็นปัญหาที่ระบบหรือปัญหาส่วนบุคคลของพระแต่ละรูป
• ความสามารถของพระธรรมทูตในการสื่อสารและการตอบคำถามสถานทูต จะต้องมีความชัดเจนโดยรู้เนื้อหาของภารกิจของที่จะต้องไปปฏิบัติ
๕. ประเด็นการประชุมอย่างสม่ำเสมอร่วมกันระหว่างสองนิกายในสหรัฐอเมริกา
• เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่เกิดที่สหรัฐอเมริกา ข้อเสนอดังกล่าวนี้จะต้องได้รับการนำเสนอขึ้นสู่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ เสนอการประชุมร่วมสองนิกายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแนวทางเดียวกัน เช่น การประชุม DMC
๖. ประเด็นเรื่องการพัฒนาภาษา
• การอบรมภาษาหลักๆ ๔ ภาษา คือ อังกฤษ จีน สเปน เวียดนาม
• พระธรรมทูตต้องมีการพัฒนาตนเองด้วย มิใช่รอเพียงแต่หลักสูตรฝึกอบรมทางภาษาจากหน่วยงานหรือองค์กรอื่นๆ
๗. ประเด็นเรื่องการจัดทำแผนงานการพัฒนาพระธรรมทูต
• โดย การตั้งเจ้าคณะฝ่ายต่างประเทศ โดยการรวมทั้งสองนิกายหรือแยกนิกายก็ได้
• กิจกรรมหรือภารกิจของพระธรรมทูตไม่เป็นที่รับรู้กับองค์กรสงฆ์ในเมืองไทย และมหาเถรสมาคม อาจจะใช้วิธีการทำรายงานประจำปี
• แผนในการดำเนินการก่อสร้างศาสนวัตถุ ศาสนธรรม (เช่นภาษา) และศาสนพิธี ต้องมีความชัดเจนและควรจะทำในรูปแบบเดียวกันสำหรับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ รวมไปถึงแม่แบบในการพัฒนาศาสนทายาท (ทำอย่างไรจะนำคนต่างชาติเข้ามาได้)
๘. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัดในต่างประเทศกับชุมชนท้องถิ่น
• จะต้องมีการทำรายงานประจำปีเพื่อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงกิจกรรมที่ได้ทำให้กับชุมชนท้องถิ่น
๙. การสร้างอนุสรณ์สถานสำหรับโอกาสพุทธชยันตี
• จะทำที่ไหน อย่างไร
๑๐. ประเด็นเรื่องการพัฒนาสื่อในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
• การพัฒนาสื่อกลางด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่พระธรรมทูตสามารถนำไปเผยแผ่ได้ทันที เพื่อเป็นการแก้ปัญหาในเรื่องทักษะทางด้านภาษาของพระธรรมทูตที่มีน้อยและอาจจะพัฒนาได้ยาก