การประชุมปรึกษาหารือคณะพระธรรมทูตไทยในต่างประเทศ
เรื่อง ติดตามปฏิญญากรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
ณ กองวิเทศสัมพันธ์ มจร. อ.วังน้อย ห้อง D300
24 พฤษภาคม 2553
***********
เริ่มประชุมเวลา 16.30 – 19.30 น.
พระสุนทรพุทธิวิเทศ รองประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ รูปที่ ๑
เสนอว่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้เป็นตัวแทนในการจัดฝึกอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศให้กับวัดต่าง ๆ เพื่อที่จะให้งานพระธรรมทูตมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ก็อยากจะทราบว่าวิชาการด้านต่าง ๆ ของพระธรรมทูต ส่วนใหญ่ที่ไปประเทศสหรัฐอเมริกา เท่าที่ผมได้สังเกตซึ่งผมไม่ค่อยได้มีส่วนร่วมในการอบรมมากนัก ส่วนเจ้าคุณพระวิเทศธรรมกวีได้มามีส่วนร่วมอยู่บ้าง ฉะนั้นในด้านวิชาการผู้ที่เป็นพระธรรมทูตส่วนมากจะจบมหาจุฬาฯ มาแล้วจึงจะนำมาอบรมเป็นพระธรรมทูตไปตามวัดต่าง ๆ คงจะมีความรู้ในด้านวิชาการอย่างมากเพราะกว่าจะเรียนจบปริญญาตรีก็เป็นเวลานาน แต่จะมีเพิ่มบ้างในด้านภาคสนามคือปฏิบัติจริง เช่นวิปัสสนากรรมฐาน หรืองานสาธารณูปการ และได้เคยไปกราบสมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงครามฯ ท่านปรารภให้ฟังว่า พระธรรมทูตต้องดู พระอัสสชิเป็นตัวอย่างว่าท่านใช้แนวทางแบบไหนแล้วได้อะไรมาบ้าง ดังนั้นจึงไม่ผิดที่พระครูโฆสิตพุทธิศาสตร์ว่า อาจาระเป็นส่วนสำคัญ ดังนั้นการที่จะได้พระธรรมทูตที่มีความเสียสละมีใจหนักแน่นมีความอดทน และให้ถือแนวพระอัสสชิเป็นตัวอย่าง ที่ได้ลูกศิษย์คือพระสารีบุตรมา ให้พวกเราไปดูเอาเป็นแบบอย่าง พระธรรมทูตรุ่นปัจจุบัน งานกรรมกรจะน้อย ไม่เหมือนรุ่นแรก งานกรรมกรจะมาก เช่นวัดพุทธรังษีไมอามี่ มีงานมาก ดังนั้นการอบรมพระธรรมทูตอยากให้ได้จิตใจด้วยไม่ใช่วิการอย่างเดียว เพราะวัดที่กำลังพัฒนาจะต้องการพระธรรมทูตที่มีจิตใจช่วยเหลืองานเพื่อพัฒนาวัดให้สมบูรณ์ ดังนั้นอยากฝากเรื่องนี้ไว้ให้ดูด้วย
พระครูโฆสิตพุทธิศาสตร์ ว่าทุกรูปที่เข้ามาอบรมก็ยอมทุกอย่างตามเงื่อนไข แต่ภาคจิตภาวนาก็มีความกดดันมาก ในภาควิชาการ ก็มีความยืดหยุ่นบ้าง ก็เลยช้าไปบ้าง แต่ขอให้อบรมให้ดีและขอให้ลดทิฏฐิมานะลงบ้าง เช่นเทกระโถนไม่เป็น เพราะอยู่เมืองไทยเคยสบายมีคนรับใช้ พอไปแล้วก็เลยทำไม่เป็น การที่จะได้พระที่มีอาจาระงดงาม ก็คงมีแต่อาจจะน้อย แต่เราก็คอยหาครูอาจารย์ด้านวิปัสสนากรรมฐานที่มีความชำนาญมาช่วยสอน เพื่อเน้นในด้านนี้โดยเฉพาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝรั่งหรือคนไทยมาเพื่อศึกษาหาความสงบด้านจิตใจเป็นส่วนมาก และฝรั่งบางคนในปัจจุบันก็ชมพระธรรมทูตรุ่นใหม่ ๆ สามารถพูดสื่อภาษาอังกฤษได้ ดังนั้นคุณสมบัติของพระธรรมทูตที่พึงประสงค์ คือ ภาษาและวัฒนธรรม ส่วนด้านลึกซึ้งในพระไตรปิฎกและวิปัสสนากรรมฐานยังหายากอยู่ แต่ก็จะพยายามฝึกฝนต่อไป
พระครูสุตพุทธิธัช ฝ่ายเลขานุการสหภาพสงฆ์ยุโรป เสนอว่า ให้ทุกรูปเสนอความคิดเห็นสักรูปละ ๕ นาที จะมีประโยชน์ ผมขอเสนอให้บรรจุลงในห้องประชุมใหญ่และให้แยกหัวข้อไปตามห้องและบรรจุพระธรรมทูตทั่วโลกให้มาประชุมภายในห้องนี้ และพระเถรานุเถระจากทั่วโลกจะได้มาประชุมด้วย
พระมหาดร.ถนัด อตฺถจารี เลขาธิการสมัชชาสงฆ์ไทยฯ กล่าวว่า นี้เป็นการพบหน้ากันครั้งแรกของพระธรรมทูตไทยที่ไปปฏิบัติศาสนกิจทั่วโลก ที่มีโอกาสได้มานั่งคุยกัน คือ
1.เรื่องการติดตามงานในปฏิญญากรุงวอชิงตัน,ดี.ซี.
2.เรื่องการทำแผนพัฒนางานพระธรรมทูตไทยในต่างประเทศ
เรื่องที่ 1 ปฏิญญากรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. เกิดมาจากปีที่แล้ว(๒๕๕๒) ที่มีการประชุมพระธรรมทูตทั่วโลก ที่มาร่วมประชุมกันทั้งภาคพื้นสหรัฐอเมริกา ยุโรป เอเชีย โอเชียนเนียร์ อินเดีย เนปาล และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มหาเถรสมาคม โดยมีสถาบันการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย คือ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับรู้ลงนามร่วมกัน รวมทั้งสถานเอกอัครราชทูตไทยด้วย นี้ก็เป็นการติดตามผลให้มีการต่อเนื่อง และต้องมีการประชุมโดยให้แต่ละโซนที่มีความพร้อมก่อน ปีที่แล้วพระมหาพัน สุภาจาโร เสนอว่าอินเดียมีความพร้อม และจะได้เสนอให้ในที่ประชุมซึ่งท่านได้เสนอแล้วแต่ว่าทีมงานไม่พร้อม ดังนั้นควรฟอร์มทีมในปีนี้เพื่อจัดประชุมในปีหน้า และจุดประสงค์คือต้องมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในวัดนั้น เช่นการเปิดวัดใหม่ การผูกสีมาฝังลูกนิมิต หรืองานฉลองอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงจะสามารถจัดการประชุมได้ เพื่อให้พระธรรมทูตมารวมตัวกันได้
เรื่องที่ 2 วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่เราจะร่วมเฉลิมฉลอง ในที่ประชุมปีที่แล้ว คิดว่า วันวิสาขบูชา มีการรับรองแล้วโดยองค์การสหประชาชาติ จัดเป็นวันสำคัญสากลของโลก เมื่อมาพิจารณาวันสำคัญในทางพระพุทธศาสนาอีก เราควรจัดให้การรับรองวันมาฆบูชาโลกด้วย และเมื่อพระธรรมทูตมาร่วมกันจัดกิจกรรมแล้วก็ควรมีเรื่องของวิชาการด้วย ในปฏิญญาฯ มีแผนการพัฒนาพระธรรมทูตสายต่างประเทศด้วย และเป็นแผนพัฒนางานพระธรรมทูตทั่วโลก สหภาพสงฆ์ยุโรปสามารถเอาไปประยุกต์ใช้ หรือ สหราชอาณาจักร รวมทั้งพระธรรมทูตทั่วไป และท่านอธิการบดี พระธรรมโกศาจารย์ได้ปรารภไว้ ณ วัดกรุงไทยวอชิงตัน, ดี.ซี. ว่าอยากได้แผนแม่บทขึ้นมา ดังนั้น เมื่อมีการประชุมในที่ใดที่หนึ่งก็ควรจะมีการเน้นเรื่องการทำแผนพัฒนาให้สำเร็จเป็นรูปธรรมให้ได้ ในเรื่องนี้ผมได้ดำเนินการต่อโดยได้เชิญ ดร. เสาวคนธ์ จันทร์ผ่องศรี ผู้ชำนาญการพิเศษด้านการทำแผน และดร.รัชนีวัลย์ จุลบาท ไปร่วมกันยกร่างแผนพัฒนางานพระธรรมทูต ที่วัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ตั้งแต่วันที่ ๑๔ –๒๕ เมษายน ๒๕๕๓และเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการทางวีดีโอคอนเฟอร์เรน (VDO Conference) เลยได้ยกร่างเอกสารเรื่องการทำแผนฯ มา ก็ขอเสนอไว้เพียง 2 เรื่องก่อน
พระวิเทศธรรมกวี รองประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ รูปที่ ๒ กล่าวว่า ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เราห่างจากกิจกรรมของวัดต่าง ๆ เช่นวันมาฆบูชา น่าจะไปจัดกันที่พุทธคยา และมีญาติโยมไปช่วยด้วย ทางมหาจุฬาฯ ก็อยู่ไม่ไกลสามารถยกขบวนไปช่วยด้วย ด้านวิชาการก็ควรให้ทางมหาจุฬาฯ ช่วยงาน แต่กำลังการทำงานในอินเดียก็มีน้อยมาก เลยไม่มีความพร้อม ที่ราชคฤห์มีคณะของท่านอริยวังโส ได้ไปจัดงานมาฆบูชาที่นั่น ฉะนั้นเราก็ควรที่จะจัดวันมาฆบูชาแห่งโลกบ้าง นี้ก็เป็นโอกาสดีที่ได้มาร่วมเจอกัน ที่มหาจุฬานี้ เพื่อปรึกษากันต่อไป ในการดำเนินงานเพื่อวางกรอบ ก็เลยเสนอว่า ควรให้ทางมหาจุฬาฯ ช่วยวางกรอบในการดำเนินการในครั้งนี้
พระครูวรกิตติโสภณ เจ้าอาวาสวัดนาคปรก ผู้แทนคณะพระธรรมทูตสายโอเซียนเนียร์ เสนอว่า ทางเจ้าอาวาสวัดไทยนาลันทาได้เสนอแล้วแต่ไม่มีคนสนองเลยไม่เสร็จ ต้องมีคนสนองด้วย เลยงานไม่ค่อยเดิน
ฉะนั้น การที่เลขาธิการสมัชชาสงฆ์ไทยฯ ว่าควรจัดตามโอกาสวันสำคัญ จัดประชุมจึงจะได้ผล และผลที่ได้ก็คือทางนิวซีแลนด์ออสเตรเลีย ดีใจเพราะได้เสาเสมาธรรมจักร และจะมีการฉลองวัดในวันที่ 14 -15 พฤศจิกายน และจะนัดประชุมพระธรรมทูตสายโน้นด้วย และได้ประชุมทั้งธรรมยุตและมหานิกาย ได้ความรู้หลากหลาย
สายอินเดียถือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วิสาขบูชามีจัดในเมืองไทยแล้ว อาสาฬหะก็มีแล้ว ทางสำนักงานพุทธก็ยังจัดส่งเทียนไปตามวัดต่าง ๆ ในต่างประเทศด้วย แต่วันมาฆบูชาที่อินเดียพระวิเทศธรรมกวีกล่าวว่าสมควรจัดให้มีขึ้น แต่ที่อินเดียมีพระอริยวังโส ทำอยู่องค์เดียวดูไม่คึกคัก ทางกุสินารา พระราชรัตนรังษี เมื่อท่านได้เสนอผู้ใหญ่แล้วก็สนองงานด้วย และผมเสนอว่าพวกเราน่าจะมาพร้อมกันและทำพิธีเปิดที่กรุงราชคฤห์วัดเวฬุวัน และประชุมเป็นวันออกจากไพสาลีเข้าปาวา กุสินารา หรือสารนาถ ไพศาลีมีวัด ดร.พระมหาฉลอง ส่วนพุทธคยา ก็ประชุมที่นั่น และไปปิดงานที่กุสินารา พระราชรัตนรังสีรับเป็นเจ้าภาพ และต่างคนต่างกลับ จบ แต่ต้องมาตกลงกันอีกทีหนึ่งว่าใครจะไปกลุ่มไหนสายไหน ลงพุทธคยา เปิดงานที่นาลันทา ไปปัฏนะ ไปไพสาลี เข้ากุสินารา โค้งมาสารนาถ เข้าพุทธยา ครบทั้ง 4 แห่ง โดยข้ามไปเนปาลด้วย
พระครูวิเทศธรรมวิทิต วัดไทยนอร์เวย์ กล่าวว่า หลังจากมีปฏิญญากรุงวอชิงตัน ดีซี แล้วเงียบไป อยากให้ทางสมัชชาสงฆ์ไทยเป็นผู้ช่วยประสานงานจะสมบูรณ์กว่า อยากให้เป็นศูนย์กลางการประสานงานในเบื้องต้นและมีการทำงานร่วมกัน เพื่อให้มีการต่อเนื่อง
พระครูศรีวิเทศธรรมคุณ วัดสุทธาวาส กล่าวว่า สมควรอย่างยิ่ง ที่จะไปจัดกันที่อินเดีย โดยช่วยกันบริหารจัดการ และจุดมุ่งหมายคือเพื่อประโยชน์สุขกับประชาชน ควรมีให้ฝ่ายบ้านเมืองมาร่วมประชุมกับพวกเราด้วยไม่ว่าวิธีใด จะมีประโยชน์มากขึ้น ก็ขอเสนอในเรื่องการจัดการเหล่านี้
พระครูโฆสิตพุทธิศาสตร์ เห็นด้วยกับการที่พระครูวิเทศธรรมวิทิต จากนอร์เวย์ท่านพูด คือให้ทางสมัชชาสงฆ์ไทยฯ เป็นผู้ประสานหลักและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเราจะทิ้งเขาไม่ได้ และมหาจุฬาฯ สามหน่วยงานต้องร่วมมือกัน ไม่ว่าด้านแผนงาน โครงการ งบประมาณ แล้วเสนอไปยังสำนักงานพุทธฯ เพื่อจะได้จัดสรรงบประมาณมาช่วยเหลือเรา
พระมหาดร. ถนัด อตฺถจารี กล่าวว่า ถ้าเราตกลงในที่นี้ว่าอย่างไร ผมจะได้นำเสนอในที่ประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยฯ ในเดือนมิถุนายน นี้ต่อไป
พระครูวรกิตติโสภณ กล่าวว่า เห็นด้วยตามที่พระครูโฆสิตพุทธิศาสตร์ได้กล่าวแล้วคือให้เสนอไปทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ตอนนี้สำนักงานพุทธฯ มีทุนให้พระไปนมัสการสังเวชนียสถานที่อินเดียแล้ว
พระครูปัญญาสุธรรมวิเทศ วัดพุทธวิหารคิงส์บรอมลี่ส์ ผมไม่ได้เข้าประชุมในปีที่แล้ว แต่ได้ติดตามเรื่องปฏิญญากรุงวอชิงตัน ดี.ซี. แล้วก็เห็นสมควรให้มีการดำเนินการต่อไป และเสนอว่า ในแผนงานของมหาจุฬาฯ มีการผลิตแล้ว ได้มีโอกาสนำผลสะท้อนกลับมายังมหาจุฬาฯ เพื่อติดตามประเมินผลในปัญหาอุปสรรคของการทำงาน ฉะนั้นทางมหาจุฬา ฯ เป็นแม่ ควรให้พวกผมหรือผู้แทนจากที่ต่าง ๆ จะให้ช่วยประสานงานกันต่อไปอย่างไรหรืออาจให้มาเสนอบทความ อภิปราย ก็ให้บอกมา หรือจะให้ใครเป็นต้นเรื่องในการนำเสนอ
พระครูศรีวิเทศธรรมคุณ เราเป็นสถานบันแม่ ในเรื่องการเผยแผ่ ผมเคยพบกับเจ้าอาวาสหลายท่าน ท่านบอกว่าไม่พร้อม แต่ผมบอกว่าพร้อมคือเชื่อมั่นว่าท่านมาก็ต้องมีความพร้อมแล้ว และทุกรูปสอนฝรั่งทั้งนั้น คือเราต้องยอมรับตัวเราเองก่อนเพื่อให้คนอื่นยอมรับนับถือ
พระครูวิสุทธิธรรมวิเทศ วัดไทยเดนมาร์ก คิดว่าเรื่องมาฆะบูชา น่าจะเป็นทางอินเดียเสนอขึ้นมาแล้วรับสนับสนุนเขา เพราะสถานที่เป็นของเขา การติดต่อประสานงานอะไร อยู่ที่นั่นจะได้ง่ายขึ้น
พระครูวรกิตติโสภณ กล่าวว่าตกลงเรามอบให้ทางอินเดียเป็นผู้เสนอแล้วเราไปช่วยกันทำแล้วผมจะไปเรียนให้ท่าน (พระราชรัตนรังษี) ทราบอีกครั้งหนึ่ง
พระมหาดร. ถนัด อตฺถจารี ตกลงสถานที่แล้วในที่ประชุมตรงนี้ กำหนดว่า อินเดีย ทีนี้เหลือวิธีการทำงานและกำหนดวันเวลาสถานที่แน่นอนต่อไป
ดังนั้น ควรแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานประชุมพระธรรมทูตโลก ตัวอย่างเช่นของสมัชชาสงฆ์ไทยฯ มีคณะกรรมการติดตามปฏิญญากรุงวอชิงตันดี.ซี. มีเรียบร้อยแล้วโดยได้รับมอบหมายจากที่ประชุมตั้งเป็นคณะอนุกรรมการแล้ว มี 8 ท่าน คือ 1. พระสุนทรพุทธิวิเทศ วัดพุทธาวาส รองประธานรูปที่ หนึ่ง 2. พระวิเทศธรรมกวี วัดพุทธานุสรณ์ รองประธานรูปที่สอง 3. พระครูโสภณศาสนวิเทศ วัดพุทธมงคลนิมิต นิวแม็กซิโก 4. พระครูศรีวิเทศธรรมคุณ วัดสุทธาวาส รองเลขาธิการ 5. พระครูวิมลศาสนวิเทศ วัดพุทธโสธร 6. พระมหาสุขุม สุขุโม วัดสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ 7. พระมหาถนัด อตฺถจารี เลขาธิการสมัชชาสงฆ์ไทย กรุงวอชิงตันดี.ซี. 8. พระมหาบุญชู ฐิตธมฺโม วัดธัมมาราม ทีนี้ก็เหลือแต่ฝ่ายอื่น ทางสหราชอาณาจักร เอเชีย โอเชียเนีย ออสเตรเลีย เข้ามาร่วมติดตามกันต่อไป ตอนนี้ขาดตัวแทนอินเดียอย่างเดียว โดยให้พระครูวรกิตติโสณ เป็นผู้แทนฝ่ายอินเดียไปประสานกับพระราชรัตนรังสีให้พระเทพโพธิวิเทศเป็นประธานที่ปรึกษาแล้วท่านจะได้ปฏิบัติงานต่อไป โดยทางเราต้องพิมพ์งานมอบให้อย่างเป็นทางการโดยความเห็นของพระธรรมทูตต่างประเทศทั่วโลก ในการประชุมวันนี้
พระครูสุตพุทธิธัช ในเวลานี้เราควรใช้มติในที่ประชุมแต่งตั้งคณะผู้ทำงานขึ้นมาว่าแต่ละสายมีกี่รูป แล้วใช้องค์กรนี้ผลักดันในการดำเนินการต่อไป ดังนั้นคณะทำงานที่เราแต่งตั้งในวันนี้จะเป็นผู้ช่วยพิจารณาเสนอมหาจุฬาฯ และสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ และเราขอพระราชรัตนรังษีเป็นเจ้าภาพหาทุนสนับสนุนด้วย
พระสมุทร ถาวรธมฺโม หัวหน้าฝ่ายทะเบียน มจร. กล่าวว่า ครั้งที่แล้วการเชื่อมต่อไม่สำเร็จเพราะการประสานงานมีการขาดช่วงไป งานเลยไม่เดิน เราต้องเดินงานไปด้วยกัน แค่ทีมงานไปอินเดียสักครั้งหนึ่งก็สามารถบริหารจัดการงานได้สัก 4 – 5 รูป งานก็น่าจะสำเร็จได้ ดังนั้นที่ประชุมจึงได้เสนอรายชื่อของแต่ละส่วนงานให้เป็นผู้ประสานงานตัวแทนองค์กร
มติที่ประชุม ให้มีการแต่งตั้งคณะติดตามการดำเนินงานตามปฏิญญากรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อเป็นผู้ประสานงานด้านข้อมูลร่วมกัน ดังนี้
พระธรรมทูตสายสหรัฐอเมริกา
1.พระมหาดร.ถนัด อตฺถจารี วัดไทยกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. smuch08@live.com เลขาธิการ สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
2.พระครูศรีวิเทศธรรมคุณ วัดสุทธาวาส รองเลขาธิการ สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
พระธรรมทูตสายยุโรป
1.พระครูวิเทศธรรมวิทิต วัดไทยนอร์เวย์ ประเทศนอร์เวย์
pkamonram@hotmail.com) รองประธานสหภาพสงฆ์ยุโรป
2.พระครูสุตพุทธิธัช วัดพุทธาราม สวีเดน
(watsweden@hotmail.com เลขาธิการสหภาพสงฆ์ยุโรป)
พระธรรมทูตสายสหราชอาณาจักร
1.พระครูปัญญาสุตธรรมวิเทศ วัดพุทธวิหารคิงส์บรอมลี่ส์ อังกฤษ
(เจ้าอาวาส เลขาธิการองค์กรพระธรรมทูตในสหราชอาณาจักร, ppanyasir@yahoo.com )
2.พระครูปลัดสุทัตธรรมสุทธิ
พระธรรมทูตสายโอเชียนเนีย + ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์
1.พระครูวรกิตติโสภณ วัดนาคปรก กรุงเทพฯ เจ้าอาวาส ,
watnakprok@hotmail.com ,081–857–7293
2.พระมหาสุดใจ จารุวณฺโณ (พระธรรมทูตฯรุ่นที่ 5) วัดนาคปรก กรุงเทพฯ
3.พระมหา ดร.บุเรียน ปภงฺกโร
พระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาล
1.พระราชรัตนรังษี วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ (๙๕๐) อินเดีย
Wattthai Kusinarachalermraj Tel. : (91) 5564-271189
Fax.:(91) 5564-272089, kusinara980@gmail.com
2.พระครูปลัดสุวัฒนพุทธิคุณ วัดไทยสิริราชคฤห์
3.พระครูปริยัติธรรมวิเทศ (พม.พัน) วัดไทยนาลันทา p_bodhgaya@yahoo.com
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
1.พระครูโฆสิตพุทธิศาสตร์ รก.ผอ.กองวิเทศสัมพันธ์ มจร.
โทรศัพท์โทรสาร (035-248- 065, 089-045-3466, maha-2500@yahoo.com
2.พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ ผอ.สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจร.
(02-226-3398, 086-574-7888)
3.พระมหาศักดิ์ชาย โกวิโท หัวหน้าฝ่ายประสานงานระหว่างประเทศ มจร.
(โทรศัพท์ โทรสาร 035-248-065, 081-374-2438,
witessamphan@hotmail.com, witessamphan@yahoo.com)
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
1.ดร. อำนาจ บัวศิริ ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
รูปแบบและวิธีการในการดำเนินงานวันมาฆบูชา ณ ประเทศอินเดีย ตามข้อตกลงมีดังนี้
1.วิชาการ ให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นผู้ช่วยเหลือ/ผลักดันงานพระธรรมทูต
2.พิธีการ จัดกิจกรรมประกาศปฏิญญาเกี่ยวกับวันมาฆบูชาให้เป็นวันสำคัญของชาวพุทธทั่วโลก
3.ธรรมสัญจร จัดกิจกรรมนำชาวพุทธนมัสการสังเวชนียสถานที่สำคัญ ๆ ในประเทศอินเดีย-เนปาล
ส่วนในเรื่องหัวข้อ (Topic)ทางวิชาการให้ไปร่วมพิจารณาคัดเลือกร่วมกันระหว่าคณะผู้ทำงานโดยมี มจร เป็นหลัก ส่วนสถานที่จัดประชุมในปี ๒๕๕๔ ที่ประชุมเห็นชอบที่ประเทศอินเดีย โดยมีพระเดชพระคุณพระเทพโพธิวิเทศ เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา หัวหน้าพระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาล เป็นประธานที่ปรึกษา พระราชรัตนรังษี เจ้าอาวาสวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ เป็นประธานดำเนินการ ในฐานะประเทศเจ้าภาพในการจัดประชุมในครั้งนี้
และในการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยฯ ครั้งที่ ๓๔/๒๕๕๓ ณ วัดวชิรธรรมปทีป นครนิวยอร์ก วันที่ ๒๔-๒๕ มิถุนายน ศกนี้จะได้มีการนำเสนอเรื่องเหล่านี้อีกทีหนึ่งโดยให้พระธรรมทูตที่แต่งตั้งในวันนี้แต่ละสายไปประสานงานกันเองในองค์กรของตนที่รับผิดชอบและนำมาเสนอแนวคิดร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง
การประชุมจัดทำแผนพัฒนาพระธรรมทูตไทยในต่างประเทศ
ณ กองวิเทศสัมพันธ์ อาคารเรียนรวม ชั้น 3 ห้อง D 300 วังน้อย อยุธยา
วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เวลา 16.00 – 19.30 น.
— — — — —
เรื่อง การนำเสนอยกร่างแผนพัฒนางานพระธรรมทูตในต่างประเทศ
โดย ดร.เสาวคนธ์ จันทร์ ผ่องศรี (หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ หัวหน้าแผนงานโครงการ สำนักการศึกษาเทศบาลเมืองชลบุรี 081-306-0738 / 038-270-119, tonopoa@yahoo.com
สืบเนื่องจากสมัชชาสงฆ์ไทยฯ ต้องการให้มีการขับเคลื่อนงานของพระธรรมทูตไทยในต่างประเทศ สำหรับแผนที่ได้ยกร่างนั้นมาจากไหน มาจากข้อมูลที่ได้จากการประชุมสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกภายในมีการทำการประชุมไว้แล้วจากพระธรรมทูตทั่วโลก อันที่ 2 มีปฏิญญากรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งในปฏิญญานี้ถ้าวิเคราะห์ให้ดีก็มีความชัดเจนในตัวซึ่งมี 5 ข้อ และข้อที่สำคัญที่จะต้องขับเคลื่อนคือการทำแผนพัฒนางานพระธรรมทูต ดังนั้นในเรื่องการทำแผนนั้น ข้าพเจ้าก็มีความชื่นชมยินดีที่พระธรรมทูตมีวิสัยทัศน์ เพราะแผนคือเครื่องมือให้เกิดความร่วมมือและเชื่อมโยงกันเป็นอย่างดี เมื่อมีแผนก็จะมีกิจกรรมโครงการขึ้นมา จากนั้นก็จะมีเจ้าภาพมารับผิดชอบกิจกรรมงานต่าง ๆ และมีเรื่องงบประมาณที่หน่วยงานที่จะให้การสนับสนุนติดตามมา ในเรื่องการทำแผนนั้นได้นำฐานข้อมูลที่พระธรรมทูตไทยได้ทำอยู่แล้วมาประมวลยกร่าง ๕ บท ซึ่งในวันนี้นำมาไม่ครบ แต่บทที่สำคัญคือบทที่เกิดการวิเคราะห์ที่เกิดวิสัยท์ศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์ มาจาก 1 ฐานข้อมูล 2 จากนโยบายระดับต่าง ทั้งสำนักพุทธ และสมัชชาสงฆ์ไทย มหาจุฬา และการประชุมทางไกล และทำเป็นบทสรุปที่แจกในวันนี้ และในยกร่างนี้สามารถปรับได้อีกถ้าเห็นสมควร ร่างข้อสรุปแผนพัฒนาพระธรรมทูต ในปฏิญญา บทที่ 1 จะเป็นบททั่วไป บทที่ 2 เป็นเรื่องของผลงงานในปีที่ผ่านมา บทที่ 3 จะเป็นเรื่องวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกภายใน ที่มีผลกระทบและเอื้อต่อการทำงานของพระธรรมทูต และในบทที่ 4 เป็นการสรุปถึงวิสัยทัศน์พันธกิจ วิสัยทัศน์คือเราจะร่วมกันมองว่านับแต่นี้ไปอีก 3 ปี พระธรรมทูตจะทำอะไรให้เกิดขึ้นมา สรุปแล้ววิสัยทัศน์ของพระธรรมทูตคือมีเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน ในลักษณะของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนางานพระธรรมทูตไทยในต่างประเทศให้เข้มแข็ง และต้องพัฒนาพระธรรมทูตให้มีภูมิปัญญาและภูมิธรรม มีวิชชาและจรณะ รักษาศิลปวัฒนธรรมไทยเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน
พระเทพกิตติโสภณ และพระวิเทศธรรมรังษีได้ให้นโยบายว่า เป็นพระธรรมทูตในต่างประเทศต้องมี 2 อย่างคือภูมิปํญญากับภูมิธรรม ๆ อันจะทำให้มีธรรมที่เข้มแข็ง และเรียนรู้ภาษา
เมื่อมีวิสัยทัศน์แล้วภายใน 3 ปีจะต้องมีพันธกิจ ที่สำคัญคือการสร้างเครือข่ายและมีจุดมุ่งหมายอันสำคัญ
กราบถวายรายงานว่า สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา มีความประสงค์จะขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ เพื่อการพัฒนา ดังนั้นจำเป็นต้องมีแผนการดำเนินงาน ในเรื่องแผนนี้ มีข้อมูลข้อนข้างพร้อม และมีปฏิญญากรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เป็นสิ่งที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้ตกลงพร้อมใจกันที่จะทำงานร่วมกันอยู่แล้ว และสิ่งที่สำคัญต้องมีการทำแผน มีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ซึ่งมีเรามีแผนแล้วก็จะมีโครงการกิจกรรมต่าง ๆ ไว้รองรับ อันจะทำให้ได้มาซึ่งงบประมาณจากภาครัฐหรือส่วนงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
วิสัยทัศน์ เรานำมาจากฐานข้อมูลและนโยบายในการทำงาน และในตัวยกร่างยังต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยในระยะ 3 ปี เราจะทำอะไรกันบ้าง โดยมีความร่วมมือ เป้าหมายเดียวกันในการพัฒนาพระธรรมทูตให้เจริญเข้มแข็งทั้งทางด้านภูมิปัญญา และภูมิธรรม
พันธกิจ หมายถึง หน้าที่โดยรวมขององค์กรที่จะปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จตามที่องค์กรต้องการ สิ่งที่สำคัญคือมีจุดมุ่งหมาย เช่น พระธรรมทูตควรเรียนรู้ภาษาท้องถิ่นและวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละพื้นที่ ที่ไปเผยแผ่ ต้องเป็นผู้มีความรู้แม่นยำในพระไตรปิฎก มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส มีภารกิจคือสิ่งที่ทำตามหน้าที่เพื่อให้พันธกิจบรรลุผลสำเร็จ
พันธกิจที่ 1 ทำหน้าที่ในการส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการทำงานและความร่วมมือพร้อมจัดตั้งกองทุนสนับสนุนการปฏิบัติงานของพระธรรมทูต
กลยุทธ์
- แนวทางการดำเนินงาน โดยใช้ระบบเน็ตเวอร์ก (Network) เช่น ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารทุกภาคส่วนในแต่ละประเทศ และสนับสนุนเครือข่ายแห่งการเรียนรู้
- จัดตั้งกองทุนเพื่อส่งเสริมการทำงานและการสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนในประเทศที่เผยแผ่
พันธกิจที่ 2 ปฏิบัติงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ผลิตและพัฒนา สร้างสถาบันพัฒนาพระธรรมทูตไทยในต่างประเทศ
กลยุทธ์
- ส่งเสริมการผลิตและการพัฒนาพระธรรมทูตไทยให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
- ส่งเสริมสนับสนุนและระดมทุนสร้างสถาบันพระธรรมทูตไทยในต่างประเทศ
- ส่งเสริมวิธีการเผยแผ่ในเชิงรุกด้วยวิธีการหลากหลายให้สามารถเข้าถึงกระแสธรรมและนำไปใช้ปฏิบัติได้จริง
- ส่งเสริมสนับสนุนการทำงานของพระธรรมทูตให้ช่วยเหลือบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชนในประเทศต่าง ๆ
พันธกิจที่ 3 สร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้แก่องค์กรสมัชชาสงฆ์ไทยฯ งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ผลิตและพัฒนา สร้างสถาบันพัฒนาพระธรรมทูตไทยในต่างประเทศ
กลยุทธ์
- ส่งเสริมการผลิตและการพัฒนาพระธรรมทูตไทยให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
- ส่งเสริมสนับสนุนและระดมทุนสร้างสถาบันพระธรรมทูตไทยในต่างประเทศ
- ส่งเสริมวิธีการเผยแผ่ในเชิงรุกด้วยวิธีการหลากหลายให้สามารถเข้าถึงกระแสธรรมและนำไปใช้ปฏิบัติได้จริง
- ส่งเสริมสนับสนุนการทำงานของพระธรรมทูตให้ช่วยเหลือบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชนในประเทศต่าง ๆ
ด้านภูมิปัญญา พระธรรมทูตใหม่ต้องมีการฝึกฝน มีแนวทางดำเนินการดังนี้
- จัดสถาบันฝึกอบรมพระธรรมทูตในสหรัฐอเมริกา หรือส่งพระไปเรียนภาษาที่นั่น
- พัฒนาหลักสูตรของพระธรรมทูตไทย เช่นหลักสูตรการเผยแผ่ การพัฒนาตน
- ต้องมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง และมีการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง
- ให้มีการเรียนรู้ภาษาท้องถิ่น, ภาษาสากลอย่างทั่วถึง
ปิดประชุมเวลา ๒๑.๓๐ น.
พระมหาศักดิ์ชาย โกวิโท พระมหาถนัด อตฺถจารี
หัวหน้าฝ่ายประสานงานระหว่างประเทศ มจร. เลขาธิการ สมัชชาสงฆ์ไทยฯ
ผู้บันทึกการประชุม ผู้ตรวจ/แก้ บันทึกการประชุม